ภูเก็ต พื้นที่เมืองเก่าภูเก็ตเป็นพื้นที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะภูเก็ต ซึ่งก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 เกาะภูเก็ตในตอนเหนือเรียกกันว่า ถลาง หรือ เมืองถลาง เป็นเมืองที่มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ และได้มีการย้ายที่ตั้งของเมือง เนื่องจากสงครามหลายครั้ง และได้เรียกชือเมืองถลาง ตามตำบลที่ย้ายไป มีเมืองถลางบ้านตะเคียน ในสมัยท้าวเทพกระษัตรี เมืองถลางบ้านคอน และเมืองถลางท่าเรือ
พื้นที่ทางตอนใต้ของเกาะ เป็นแหล่งแร่ดีบุกตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเคยเป็ยชุมชนเล็ก ๆ ที่มีฝรั่ง โปรตุเกสและฮอลันดาทำการซื้อขายแร่ดีบุก ได้มีการเจริญและเสื่อมลง ในชวงปลายกรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งในสมัยปลายรัชกาลที่ 4 นสมัยที่เจ้าเมือง คือ หลวงพิทักษ์ทวีป ( ทัด ) เห็นว่าพื้นที่บริเวณที่เรียกว่า " ทุ่งคา " มีแร่ดีบุกมากจึงได้ย้ายเมืองจากบ้านเก็ดโฮ่ ( อำเภอกะทู้ในปัจจุบัน ) มาตั้งที่ตำบลทุ่งคา ( พื้นที่เขตเทศบาลเมืองภูเก็ตปัจจุบัน )


รถสองแถว รถโดยสารราคาประหยัดของจังหวัดภูเก็ต
จอดอยู่ที่หน้าตลอด ในตัวเมืองภูเก็ต เส้นทางรถมีหลายเส้นทาง จะมี กะทู้ - ป่าตอง ราคาคนละ25 บทา ฉลอง - ราไวย์ ราคาคนละ30 บาท ในเมือง กะตะ - กะรน ราคาคนละ 30 บาท
อาคารสถานที่น่าสนใจ
บ้านหลวงอำนาจนรารักษ์อาคารตึกแถวฝั่งเลขคี่ ถนนดีบุกอาคารตึกแถวฝั่งเลขคู่ ถนนดีบุกร้านขนมพื้นเมืองอาคารบริษัทเอกวานิช จำกัดศูนย์อาหารโรงภาพยนต์สยามเดิมตึกแถวเก่า ถนนเยาวราชตรอกสุ่นอุทิศและอาหารว่างร้านจึ้งวดตึกแถวเลขที่ 96 ถนนเยาวราชอาคารบริษัทเกี้ยนหงวนอาคารสมาคมภูเก็ตฮกเกี้ยนสามัคคีร้านโจ๊กวัดกลางกุฏิเก่าในวัดกลางอาคารตึกแถวเก่าในซอยรมณีย์

ช่วงนี้เริ่มจากแยกถนนดีบุกตัดกับถนนสตูลเดินตามถนนดีบุกจนถึงสี่แยกตัดถนนเยาวราช แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนเยาวราชเพื่อชมอาคารตึกแถว และลิ้มลองอาหารอร่อย ในตรอกสุ่นอุทิศ แล้วย้อนกลับมาที่สี่แยกอีกครึ้งเพื่อเลี้ยวขวาเข้าถนนดีบุกอีกช่วงหนึ่ง จากนั้นเลี้ยวเข้าสู่ซอยรมณีย์และออกไปยัง ถนนถลาง การเดินชมเมืองในช่วงน ี้จะพบกับความหลากหลายของอาคารชิโนโปรตุเกส รวมทั้งความอร่อยของอาหาร ขนมพื้นบ้าน ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
กลิ่นไอ “ชิโน-โปรตุกีส” สถาปัตยกรรมเมืองเก่าภูเก็ต


ตามหลักวิชาการแล้ว สถาปัตยกรรมแบบนี้เรียกว่า แบบคลาสสิค เรเนสซองส์ และนีโอคลาสสิค ของยุโรป กับศิลป แบบจีนผสมไทย ฟังดูแล้วอาจไม่ค่อยเข้าใจ แต่บอกง่าย ๆ ได้ว่า ฝรั่งปนจีน ข้างนอกตะวันตก ข้างในและรายละเอียดยิบย่อยเป็นแบบจีน คงพอมองเห็นภาพมากขึ้น
บ้านเมืองเก่าเหล่านี้ตั้งขึ้นมาตั้งแต่สมัยที่ภูเก็ตยังเป็นศูนย์กลางการค้าแร่ ยาง และของทะเล และยังเป็นเกาะบริสุทธิ์กลางอันดามัน ดูภาพเก่า ๆ แล้วชวนให้นึกถึงความหลังที่คงไม่มีวันหวนมาอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น