Phuket / Information By Thaisho Tour
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียงฝั่งทะเลอันดามัน
สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ E-mail:thaishotour@hotmail.com
Phuket Loy krathong Frstivel 2008 งานลอยกระทง ประจำปี 2551 จังหวัดภูเก็ต
ปี 2551 ทางเทศบาลนครภูเก็ตให้ชื่อว่า " ดอกบัวบานงานลอยกระทง " จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 9 - 12 พฤศจิกายน 2551
ณ บริเวณศูนย์กีฬาสะพานหิน มีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
** ชมขบานแห่งกระทงที่ยิ่ใหญ่ตระการตา
** การประกาดหนูน้อยนพมาศ
** ขบวนเรือกอจ๊าน และการจุดพลุในทะเล
** การแข่งขันเย็บกระทงใบตองสด
** การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง
** การแข่งขันวาดภาพระบายสี งานลอยกระทง
** การออกร้านสาธิตผลงานของนักเรียน โรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดภูเก็ต
สถานที่จัดงาน สะพานหิน
ท่าน้ำที่ทางเทศบาล นครภูเก็ต จัดไว้ให้ประชาชน และนักท่องเที่ยว ลอยกระทง
ท่าน้ำที่ทางเทศบาล นครภูเก็ต จัดไว้ให้ประชาชน และนักท่องเที่ยว ลอยกระทง
ท่าน้ำที่ทางเทศบาล นครภูเก็ต จัดไว้ให้ประชาชน และนักท่องเที่ยว ลอยกระทง
ท่าน้ำที่ทางเทศบาล นครภูเก็ต จัดไว้ให้ประชาชน และนักท่องเที่ยว ลอยกระทง
กระทงหลวงเป็นกระทงที่ทางเทศบาลนครภูเก็ตจัดทำเพื่อให้ประชาชนที่มาร่วมงานได้ร่วมลอยกระทงร่วมกัน ตรงกลางกระให้ประชาชาและนักท่องเที่ยวใส่เหรียญลงไปเพื่อเป็นการขอคมาพระแม่คงคาร่วมกัน
การประกวดกระทงของนักเรียน โรงเรียนต่างในจังหวัดภูเก็ต ส่งตัวแทนมาร่วมกิจกรรม แต่ละโรงเรียนจะส่งนักเรียนร่วมการประกาด
แบ่งออกเป็นประเภศตั้งนี้
1. ประเภศ ชั้น ป. 1-3
2. ประเภศ ชั้น ป. 4-6
3. ประเภศ ชั้น ม. 1-3
4. ประเภศ ชั้น ม. 4-6 ประเภศละ 3 คน ใช้เวลในการแข่งขัน 3 ชั่วโมง
วัสดุที่นำมาใช้ในการแข่งขันเย็บกระทง มีใบตอง ดอกไม้ต่าง ๆ ที่แต่ละโรงเรียนจะจัดหามาเพื่อประดิษ และประดับตกแต่งให้สวยงาน ถูกใจ คณะกรรมการ
นัดเรียนแต่ละโรงเรียนช่วยกันทำกระทงอย่างแข็งขัน
ดูว่าทีมใหนจะมีฝีมือและความปราณีต
คณะกรรมการตรวจดูความเรียบร้อย สวยงาม และให้คะแนน
กระทงที่นักเรียนทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
กระทงที่นักเรียนทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
กระทงที่นักเรียนทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
กระทงที่นักเรียนทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ผลการตัดสินรางวัลชนะเลิศ แต่งละประเภศระดับการศึกษา
ชนะเลิศ ระดับ ป. 4-6
ชนะเลิศระดับ ม. 4-6
ชนะเลิศระดับ ม. 1-3
ประเพณีวันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย
พระแม่คงคา
พระแม่คงคา มีประวัติดั้งนี้พระองค์เป็นพระธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกามีน้องสาวนามว่าพระอุมาภควตี พระองค์ทรงเป็นพระชายาของพระศิวะ ตามคติความเชื่อของอินเดีย ว่ากันว่าพระองค์ทรงปลาใหญ่หรือจรเข้เป็นพาหนะ พระองค์เป็นเทวีผู้ให้กำเนิดสายน้ำ คงคาตามความเชื่อของชาวอินเดีย และนอกจากนั้นชาวฮินดูยังเชื่อว่าสายน้ำ คงคานั้นสามรถชำระล้างบาปของตนได้ พระนางคงคานั้นไม่ได้มีปางอันใดเนื่องจากว่าไม่มีการแบ่งภาคลงมาเกิดแต่มีการร่วมกับองค์พระศิวะในปาง คงเคศวรนั้นเอง นอกจากนั้นก็จะคงพบในรูปเคารพของพระศิวะโดยพระองค์จะปรากฏในเทวลักษณะที่เป็นน้ำไหลจากมวยผมของพระศิวะ
ความเชื่อเกื่ยวกับวันลอยกระทง
เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้
การลอยกระทงของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย
ภาคเหนือตอนบน
นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
ภาคอีสาน จะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"
กรุงเทพฯ จะมี งานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว7-10วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3
ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี
ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เที่ยวงานลอยกระทงให้สนุก ปราศจากสุรา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น