วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา








สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ทรงเป็นพระธิดาพระองค์แรกใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
เวลา ๑๑.๐๗ น. หลังเที่ยง (ตามเวลาในประเทศอังกฤษ) ณ สถานพยาบาล เลขที่ ๔๘
Lexham gardens กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พระนามในพระสูติบัตรเมื่อแรกประสูติ คือ เมย์
ตามเดือนที่ประสูติ

สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงมีพระอนุชา ๒ พระองค์ คือ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร์
และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระภัทรมหาราช





ิพระอิสริยศักดิ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า
“หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสถาปนาเป็น “พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา” และในพ.ศ. ๒๔๗๘
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเฉลิมพระเกียรติเป็น “สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา” ทั้ง ๓ พระองค์ “...ได้ทรงร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา
แต่ยังทรงพระเยาว์ ทั้งเป็นผู้ที่ทรงเคารพนับถือในฐานะที่ทรงมีอุปการคุณ
มาแต่หนหลัง...” ไม่เพียงแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ได้ทรงมีความเอื้ออาทรและเกื้อกูลเป็นอันมากต่อพระอนุชา
ทั้ง ๒ พระองค์ หากแม้ในขณะที่พระอนุชาทั้ง ๒ พระองค์ เสด็จดำรงเถลิงถวัลยราชสมบัติ
เป็นมิ่งขวัญร่มฉัตรแก่พสกนิกรชาวไทย

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ยังได้ทรงบำเพ็ญพระราชกิจน้อยใหญ่
สนองเบื้องพระยุคลบาทไว้เป็นอเนกประการแก่บ้านเมือง พ.ศ. ๒๔๘๗ ทรงกราบถวายบังคม
ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อทรงเสกสมรส


ต่อมาพ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมพระบรมราชโองการ
ประกาศสถาปนาให้กลับทรงพระอิสริยายศฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตามเดิมทุกประการ


ครั้นพ.ศ. ๒๕๓๘ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงเจริญพระชนมาย
ุครบ ๖ รอบ เสมอด้วยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
และเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ ๕๐ ปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนา
พระอิสริยศักดิ์ เป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายในตามธรรมเนียมราชประเพณีเป็นพระองค์แรก
และพระองค์เดียวในรัชกาล ทรงพระนาม ตามพระสุพรรณบัฎว่า
“สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์”



6 วันพระราชพิธี (14-19 พ.ย.2551) พระราชทานเพลิงพระศพ"พระพี่นาง"

รัฐบาลได้กำหนดวันจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทั้งสิ้น 6 วัน และมีการจัดพระราชพิธี 6 พิธี เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน ไปจนถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วันแรกวันที่ 14 พฤศจิกายน 2551 จะเป็นงานพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ


วันที่ 15 พฤศจิกายน เป็นการเชิญพระโกศออกพระเมรุมาศ

วันที่ 16 พฤศจิกายน เป็นการถวายพระเพลิงพระศพ


วันที่ 17 พฤศจิกายน เป็นพระราชพิธีเก็บพระอัฐิ

วันที่ 18 พฤศจิกายน มีพิธีพระราชกุศลพระอัฐิ และสุดท้าย

วันที่ 19 พฤศจิกายน เป็นพิธีบรรจุพระราชสรีรางคาร




ทั้งนี้ เมื่อกำหนดวันพระราชพิธีต่างๆ เรียบร้อยแล้ว คณะทำงานแต่ละคณะจะเร่งทำงานให้เป็นไปตามกำหนดทันเวลา และเมื่อเรียบร้อยแล้วจะกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประชุมอีกครั้งหนึ่ง
พระที่นั่งทรงธรรม


สำหรับสิ่งที่ต้องรอบคอบและวางแผนอย่างละเอียดนั้น คือเรื่องริ้วขบวนในงานพระราชพิธีดังกล่าว ซึ่งทางคณะกรรมการได้เห็นชอบให้กำหนดริ้วขบวนพระราชอิสริยยศเป็น 6 ริ้วขบวน คือ วันพระราชทานเพลิงพระศพ

ริ้วขบวนที่ 1 เชิญพระโกศ โดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ไปยังพระมหาพิชัยราชรถ หน้าวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม


ริ้วขบวนที่ 2 เชิญพระโกศโดยพระมหาพิชัยราชรถ จากหน้าวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม ไปยังพระเมรุมาศ บริเวณท้องสนามหลวง

ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระโกศ โดยพระยานมาศสามลำคาน เวียนรอบพระเมรุมาศ โดยอุตราวัฏ (เวียนซ้าย) ครบ 3 รอบ แล้วเชิญพระโกศประดิษวันเก็บพระอัฐิ ริ้วขบวนที่ 4 เชิญพระโกศพระอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยาน และพระราชสรีรางคาร โดยพระวอสีวิกากาญจน์ จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ฐานบนพระเมรุมาศ






วันเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังบำเพ็ญพระราชกุศลพระอัฐิ ริ้วขบวนที่ 5 เชิญพระโกศพระอัฐิ โดยพระที่นั่งราเชนทรยาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมาน บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท


วันบรรจุพระราชสรีรางคาร ริ้วขบวนที่ 6 เชิญพระราชสรีรางคาร จากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง โดยรถยนต์พระที่นั่งไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ถนนอัษฎางค์






ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อน ข้าพเจ้าบริษัท ไทยโช จำกัด กรรมการ และพนักงาน
ขอพระองค์ทรงเสด็จสู่สวรรคาลัย

ขอเชิญพสกนิกรชาวไทยร่วมแต่งกายไว้ทุกข์
เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพฯ
ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ด้วยเสื้อผ้าสีดำ ขาว และเทา

ไม่มีความคิดเห็น: