วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Phuket / Pineapple

Phuket / Information By Thaisho Tour
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงฝั่งทะเลอันดามัน
ติดต่อได้ที่ E-mail:thaishotour@hotmail.com



สับปะรด(Pineapple) พันธุ์ภูเก็ตหรือสวี
สับปะรดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจำพวกไม้เนื้ออ่อนที่มีอายุหลายปี สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี
ปลูกได้ในดินแทบทุกแห่งในประเทศไทย มีช่อดอกที่ส่วนยอดของลำต้น ซึ่งเมื่อเจริญเป็นผลแล้วจะเจริญต่อไปโดยตาที่ลำต้น จะเติบโตเป็นต้นใหม่ได้อีก
สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือ
เรียกว่าไม้ดิน พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับและพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้



สับปะรด พันธุ์ภูเก็ตหรือสวี
ปลูกกันมากในสวนยางจังหวัดภูเก็ต ชุมพร นครศรีธรรมราช และตราด โดยปลูกระหว่างแถวยาวรุ่นที่ยังมีอายุน้อยเพื่อเก็บผลขายก่อนกรีดยาง มีชื่ออื่น ๆ อีกเช่น พันธุ์ชุมพร พันธุ์สวี พันธุ์ตราดสีทอง
ลักษณะทั่ว ๆ ไป ใบสีเขียวอ่อนและมีแถบสีแดงในตอนกลางและปลายในขอบใบมีหนามสีแดงแคบและยาวกว่าพันธุ์อินทรชิตและ พันธุ์ขาวกลีบดอก สีม่วงอ่อน ผลมีขนาดเล็กกว่าทุกพันธุ์ที่กล่าวมาตาลึกเปลือกหนา เนื้อหวานกรอบสีเหลืองเข้ม เยื่อใยน้อย มีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับบริโภคสด เป็นที่นิยมมากในภาคใต้



สับปะรด พันธุ์ภูเก็ตหรือสวี ลักษณะเด่น

รูปร่างทรงกระบอกสม่ำเสมอดี
รสชาติดี เนื้อหวานกรอบ มีกลิ่นหอม
เนื้อสีเหลืองจัด ตอบสนองสารเร่งดอกได้ดี
การบรรจุกระป๋องไม่ค่อยดีนัก



สับปะรด พันธุ์ภูเก็ตหรือสวี
เป็นที่นิยมมากในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง คนภูเก็ตสามารถนำสับปะรดมาทำอาหารรับประทานได้มากมายหลายอย่าง
อาทิเช่น
ทานผลสด, นำมาทานเป็นเครื่องเคียงกับขนมจีน น้ำต่างโดยเฉพาะแกงไตปลาจะอร่อยมาก , แกงส้มสับปะรดปลามง ,แกงสับปะรดกะทิไก่ ฯลฯ

เคร็บลับการทำเนื้อแดงของคนอิสราม
นำเนื้อวัว มาหมักกับเนื้อสับปะรด ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ความเปรี้ยวและวความหวานของสับปะรดจะซึมเข้าไปในเนื้อวัว หลังจากนั้นก็นำมาล้างเอาเนื้อสับปะรดที่ติดอยู่ออกให้สะอาด แล้วสามารถนำมาปรุงรสทำเป็นเนื้อแดง เนื้อจะนุ่ม ทานอร่อย



ประโยชน์ของสับปะรด
สับปะรดมีส่วนต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง ดังนี้

เนื้อ
ใช้รับประทานสดหรือแปรรูปเป็นสับปะรดแช่อิ่ม สับปะรดกวน สับปะรดอบแห้ง แยมสับปะรด หรือ สับปะรดบรรจุกระป๋อง และคั้นทำน้ำสับปะรด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้เนื้อสับปะรดผสมกับปลาและเกลือหมักไว้ทำเป็นอาหารที่เรียกว่า "เค็มหมากนัด"

ผลพลอยได้จากเศษเหลือของสับปะรด
เศษเหลือของสับปะรดส่วนใหญ่จากอุตสาหกรรมบรรจุกระป๋อง สามารถนำมาแปรรูปทำอย่างอื่นได้ เช่น
น้ำเชื่อม
แอลกอฮอล์
น้ำส้มสายชู และไวน์
อาหารสำหรับเลี้ยงวัว
กรดอินทรีย์ 3 ชนิด คือ กรดซิตริก กรดมาลิก และกรดแอสคอร์บิก

ใบ
เส้นใยจากใบสับปะรด นำมาทอเป็นผ้าใยสับปะรด ในฟิลิปปินส์เรียกว่า "ผ้าบารอง" ราคาแพง นิยมตัดเป็นชุดสากลประจำของชาติฟิลิปปินส์และไต้หวัน

เยื่อกระดาษจากใยสับปะรด จะได้กระดาษที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความบางมาก มีผิวนุ่มเนียน สามารถบิดงอหรือเปลี่ยนรูปร่างได้ง่าย โดยไม่เสียหาย ในหลายประเทศใช้เป็นกระดาษสำหรับพิมพ์ธนบัตร

เปลือก
การใช้เปลือกสับปะรดเลี้ยงวัว เศษเหลือทิ้งจากโรงงานสับปะรด คือ
เปลือกและแกนกลางซึ่งจะมีน้ำอยู่สูงถึงร้อยละ 90 เมื่อคิดต่อน้ำหนักสดส่วนเหลือทิ้งจะมีโปรตีนและโภชนะย่อยได้ทั้งหมดประมาณร้อยละ 0.7 และ 7 เมื่อคิดต่อน้ำหนักแห้งจะมีค่าโปรตีนและโภชนะย่อยได้สูงถึงร้อยละ 7 และ 70 ตามลำดับ ปกติวัวชอบกินเปลือกสับปะรด ยิ่งเปลือกที่ทิ้งไว้ 2-3 วัน สีออกเป็นน้ำตาลเทา ๆ มีกลิ่นเหม็นเล็กน้อย วัวจะชอบกินมากกว่าเปลือกสด

ดังนั้น หากเลี้ยงวัวในแหล่งที่มีโรงงานสับปะรด จึงใช้เปลือกสับปะรดเป็นอาหารเลี้ยงวัวได้ทั้งฝูง และวัวขุน
โดยนำเปลือกมากองทิ้งไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงใช้เป็นอาหารเลี้ยงวัวได้เป็นการลงทุนที่น้อยที่สุด แต่ให้ผลตอบแทนสูง



นักท่องเที่ยวที่แวะมาเที่ยวที่จังหวัดภูเก็ตสามารถหาซื้อ สับปะรด พันธุ์ภูเก็ตหรือสวี ได้ทั่วไปตามตลาดในจังหวัดภูเก็ต ราคา 1 ลูกประมาณ 10-20 บาทเท่านั้น หรือตามรถเข็นผลไม้ที่ปลอกเปลือกเสร็จแล้วก็ได้เช่นกัน
หากท่านที่เดินทางมาทางรถยนต์ส่วนตัว ขากลับท่านสามารถแวะจอดซื้อได้ที่สะพานสารสิน ก่อนที่ท่านจะเดินทางไปจังหวัดของท่าน ที่สะพานสารสินสับปะรด พันธุ์ภูเก็ตหรือสวี ขายอยู่ราคาตั้งแต่ ลูกละ 2-10 บาท ถ้าซื้อเป็นจำนวนมากชาวบ้านที่ขายจะทั้งลดและแถมกันเลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น: