วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Phuket / นายกรัฐมนตรีไทย

Phuket / Information By Thaisho Tour
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงฝั่งทะเลอันดามัน
ติดต่อได้ที่ E-mail:thaishotour@hotmail.com




นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ว่าที่ นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 27 รอรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกฯ

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยวิสามัญ ครั้งที่ 1/2551 โดยระเบียบวาระสำคัญ คือการเลือกนายกรัฐมนตรีแทนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจาก คดียุบพรรคการเมือง โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ และนายเสนาะ เทียนทอง เสนอชื่อพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก

ต่อมา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ขานชื่อเพื่อโหวตเลือกนายกฯ โดยนายอภิสิทธิ์มีคะแนนเสียงสนับสนุน 235 เสียง ขณะที่พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มีเสียงสนับสนุน 198 เสียง โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานในที่ประชุม นายอภิสิทธิ์ และนายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา งดออกเสียง[17]



ประวัติโดยย่อ ของนายกรัฐมนตรีไทยคนล้าสุด
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชิวะ
เกิด - ๓ สิงหาคม ๒๕๐๗ เมืองนิวคาสเซ็ล ประเทศอังกฤษ
บิดา - ศ.น.พ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ
มารดา - ศ.พ.ญ.สดใส เวชชาชีวะ
ภรรยา - ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ (ศกุนตาภัย) เวชชาชีวะ
อาจารย์ประจำ ภาควิชาคณิตศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
บุตร-ธิดา: น.ส.ปราง เวชชาชีวะ
นายปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ




ประวัติการศึกษา

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์
โรงเรียนอีตัน (Eton College) ประเทศอังกฤษ
ปริญญาตรีสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ ๑) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) ประเทศอังกฤษ
ปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง



ประสพการณ์การทำงาน
ปี ๒๕๓๐-๒๕๓๑ อาจารย์ประจำ
(ยศร้อยตรี)โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ (จปร.) เขาชะโงก จังหวัดนครนายก
ปี ๒๕๓๒ อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
ปี ๒๕๓๓-๒๕๓๔ อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
ปี ๒๕๓๕ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๖ (สาธร, ยานนาวา, บางคอแหลม พ.ศ.๒๕๓๕/๑, ๒๕๓๕/๒)
กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๓๘ และปี ๒๕๓๙ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต๕ (ดินแดน, ห้วยขวาง, พระโขนง, คลองตัน) กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๔๔ และ ปี ๒๕๔๘ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๕๐ (๒๓ ธ.ค.๕๐)สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วนกลุ่ม ๖ พรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๓๕-๒๕๓๗ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี ๒๕๓๗-๒๕๓๘ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตร ฝ่ายการเมือง
ปี ๒๕๓๘-๒๕๓๙ ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
ปี ๒๕๓๘-๒๕๔๐ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ปี ๒๕๔๐-๒๕๔๔ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
รับผิดชอบ :-
.กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
.กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
.กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
.กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการกระจายอำนาจ ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
.ปี ๒๕๔๑ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
.ปี ๒๕๔๒ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
.ปี ๒๕๔๘ – ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
• ปี ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
• ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ - ธันวาคม ๒๕๕๑ ผู้นำฝ่ายค้าน
ในสภาผู้แทนราษฎร
• ธันวาคม ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน นายกรัฐมนตรี



การเมืองกับครอบครัว ในความคิดของ นายกรัฐมนตรี
" ผมใช้หลักอย่างนี้ครับในครอบครัว คือแต่ละคนก็มีหน้าที่การงานของตัวเอง เขาก็เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็มีภาระหน้าที่งานของเขา เรารู้สึกว่าต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีครับ แล้วก็การแลกเปลี่ยนสนทนาเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ถามทุกข์สุขของงานก็ปกติธรรมดา แต่ว่าก็ไม่ได้บอกว่าเขาจะต้องมาเสียสละงานเขา หรือทำอะไรเพียงเพื่อมาสนับสนุน"




ข้อมูลทั้งหมดของนายกรัฐมนตรี คนล้าสุดของประเทศไทย มาจาก www.abhisit.org

ประชาชนทุกคนหวังว่าเมื่อท่านมาดำรงณ์ตำแหน่งนี้ ขอให้ท่านทำหน้าที่ให้ดีที่สุดและพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง และอย่าได้เกิดปัญหาทางการเมืองใด ๆ อีกเลย

( เนื่องด้วยปัญหาทางการเมืองของประเทศไทยที่ผ่านมาทำให้ภาวะเศรษฐกิจของไทยลงน้อยถอยลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของนักลงทุนชาวต่างชาติ และการท่องเที่ยวในประเทศไทยของชาวต่างชาติ อยากให้เร่งแก้ไข)

ขอขอบคุณ และเป็นกำลังใจให้ท่านทำงานอย่างโปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทย "ประชาชนต้องมาก่อน"

ไม่มีความคิดเห็น: