วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

phuket/วัดพระนางสร้าง


วัดพระนางสร้างเป็นวัดประจำอำเภอถลาง มีพระครูสุนทรสมณกิจ (เซี้ยง) เจ้าคณะอำเภอถลางเป็นเจ้าอาวาส ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลเทพกระษัตรี ถนนเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ระหว่างกิโลเมตรที่ 18 - 19

ประวัติวัดพระนางสร้าง
เนื่องจากการบันทึกและการรวบรวมตั้งแต่ระยะแรกจนถึงปัจจุบันมีน้อยมาก ประวัติความเป็นมาของวัดที่แน่นอนจริง ๆ จึงยังไม่มี ได้มีผู้เล่าสืบต่อกันมาความ ละเอียดของเรื่องไม่ค่อยจะเหมือนกันนัก แต่ใจความส่วนใหญ่คล้ายคลึงกันพอจะรวบรวมได้ดังนี้


พระนางเลือดขาวเป็นพระมเหสีของผู้ครองนครใดไม่เป็นที่แน่ชัด เป็นผู้มีความศรัทธราในพุทธศาสนามาก ต่อมาถูกเสนาในพระนครกลั่นแกล้งใส่ร้ายทูลต่อเจ้าครองนครว่า พระนางเป็นชู้กับมหาดเล็ก เจ้าครองนครหลงเชื่อจึงสั่งให้เพชฌฆาต นำมหาดเล็กนั้นและพระนางไปประหารชีวิต พระนางได้พยายามขอร้องและแสดงความบริสุทธิ์ ถึงกระนั้นเจ้าครองนครก็ไม่เชื่อ จะประหารชีวิตพระนางให้ได้ เมื่อหมดหนทางจึงได้ขอผ่อนผันว่าให้พระนางได้ไปนมัสการพระบรมธาตุที่ลังกาก่อน จึงจะกลับมา ให้ประหารชีวิต ประกอบกับเวลานั้นคนเดินเรือมาจากหมู่เกาะสุมาตรา ลังกา เล่าให้คนในนครฟังเสมอ ๆ ว่าที่ลังกาพระพุทธศาสนา เจริญมาก และในปีหน้าจะมีการจัดงานทางพระพุทธศาสนาครั้งใหญ่ด้วย (ตามประวัติศาสตร์สากล เล่ม 12 ของหลวงวิจิตรวาทการ 2474 หน้า 28 กล่าวว่าพระพุทธศาสนาเจริญที่สุดในสุมาตรา เมื่อ พ.ศ. 1200 ซึ่งอาจจะเป็นปีเดียวกันก็ได้ ) เจ้าครองนครจึงตกลง เพราะมีเหตุผลที่ว่าคนในนครนั้นไม่ชำนาญในการเดินเรือ และหนทางก็ไกลมากคงไปสิ้นพระชนม์เสียระหว่างทางมากกว่านางเลือดขาว และคณะที่ยังสวามิภักดิ์พระนางอยู่ก็ออกเดินทางตลอดเวลาเดินทาง พระนางเฝ้าแต่อ้อนวอนและ ยึดเอาคุณพระศรีรัตนตรัยให้คุ้มครองป้องกันพระนาง ทรงบอกแก่ผู้ที่ร่วมเดินทางว่า ถ้าเราไม่สิ้นวาสนาเสียก่อนต้องไปนมัสการ พระบรมธาตุให้ได้ และถ้าเราเดินทางกลับมาโดยสวัสดิภาพก็จะสร้างวัดไว้เป็นที่ระลึกจึงจะไปรับอาญาที่ถูกกล่าวหาอาจจะเป็นด้วย บุญญาธิการที่เคยมีมาก่อนหรือผลอานิสงส์แห่งการยึดมั่นในพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าก็เป็นได้ พระนางและคณะจึงไปถึงลังกาเข้านมัสการ พระบรมธาตุด้วยความ ปิติและได้นำเอาโบราณวัตถุหลายอย่างกลับมาด้วย
( บางคนเล่ากันว่า นำพระพุทธรูปมามากมาย และบางคน เล่าว่าได้นำเอาต้นโพธิ์ลังกามาด้วย และบางคนก็เล่าว่านำพระบรมสารีริกธาตุมาด้วย )

ตอนที่เดินทางกลับพระนางได้นำเรือเข้าพักที่ เกาะถลางเพระเข้าใจว่าคงเป็นเกาะที่ใหญ่โต แต่เมื่อขึ้นเกาะเข้าจริง ๆ ก็ต้องผิดหวัง จึงได้สร้างวัดไว้เป็นที่ระลึกกับได้ปลูกต้นประดู่ และต้นตะเคียนไว้เป็นเครื่องหมาย เข้าใจว่าพระนางคงเอาของมีค่าทางพระพุทธศาสนาฝังไว้ในเจดีย์บ้าง แต่ตอนนั้นก็คงไม่สร้าง อะไรมากมายเพราะภูมิประเทศเดิมเป็นป่าใหญ่ (ต้นตะเคียนและต้นประดู่ได้ถูกโค่นเพื่อสร้างโรงเรียนเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว) เมื่อสร้างวัดเรียบร้อยจึงออกเดินทางต่อไป จนมาถึงนครแม้จะรู้ว่ากำลังจะไปรับความตายแต่พระนางก็มีความสุข ปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้สร้างบุญกุศลอันยิ่งใหญ่เอาไว้ แต่เมื่อมาถึงชานเมืองพระนางก็ต้องได้รับความเสียพระหทัยเป็นอย่างยิ่งเพราะในขณะที่พระนาง ไม่อยู่ได้เกิดการแย่งชิงพระราชสมบัติพระสวามีได้ถูกประหารชีวิต พระนางจึงไม่เข้าไปในนคร ด้วยเหตุนี้พระนางจึงได้พ้นโทษจาก พระสวามีพระนางได้กล่าวกับผู้ติดตามว่า ในชีวิตจะต้องสร้างวัดวาอารามให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทุกคนที่ติดตามต่างสาธุกับ พระนางด้วย ดังนั้นจึงได้นำวัตถุสิ่งของที่นำมาจากลังกาจะ

วัดพระนางสร้าง มีตำนานว่า เมื่อ ๒๓๐๑ ไม่บอกว่าเป็น พ.ศ.หรือเมื่อ ๒๓๐๑ ปีมาแล้ว ต้องเดาดูว่าน่าจะเป็นปีอะไร พระมเหสีของเจ้าเมืองใดไม่ปรากฏชื่อเมืองแน่ชัด เป็นชู้กับมหาดเล็กถูกจับได้จึงต้องโทษประหารชีวิต แต่พระนางขอผ่อนผันต่อพระสวามีว่า ขอไปนมัสการพระบรมธาตุที่ศรีลังกาเสียก่อนแล้วจะกลับมารับโทษ พระสวามีก็ใจดีเชื่อยอมให้ไป เมื่อไปแล้วก็กลับมาแวะที่เมืองถลาง และสร้างวัดเพื่อเป็นการไถ่บาปให้น้อยลง วัดยังไม่แล้วเสร็จดีก็กลับจะไปรับโทษ แต่ปรากฏว่าทางเมืองมีการแย่งครองเมือง พระสวามีถูกสำเร็จโทษ พระนางจึงกลับมาสร้างวัดต่อ และกลับถูกเจ้าเมืองคนใหม่ตามมาเอาตัวไปประหารชีวิต ด้วยกุศลผลบุญที่สร้างวัดเมื่อถูกประหาร โลหิตได้พุ่งออกมาเป็นสีขาว จึงเรียกกันว่าพระนางเลือดขาว และเรียกวัดที่พระนางสร้างว่า "วัดพระนางสร้าง"
วัดนี้เกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์คือ เมื่อพม่ายกมาตีถลางเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ นั้น คุณหญิงจันและนางมุกน้องสาว ได้ใช้วัดนี้เป็นที่รวมพลเพื่อสู้ศึกพม่า และเมื่อคุณหญิงจันและนางมุก ได้รับพระราชทานเป็นท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทรแล้ว ก็เข้ามานมัสการพระประธานในอุโบสถของวัดพระนางสร้าง
ภายในวัดมีอุโบสถ ซึ่งภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ภาพพุทธประวัติ ภาพเหตุการณ์สำคัญๆ ภายนอกมอนุสาวรีย์ บูรพาจารย์ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ มีศาลาประดิษฐานโลงแก้วบรรจุศพของอดีตเจ้าอาวาสหลวงพ่อเซี้ยง มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓ เมื่ออายุได้ ๘๔ ปี เรียกว่าศาลาละสังขาร หลวงพ่อเซี้ยงมีอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร (ย่อส่วน) พระพุทธไสยาสน์ เห็นจะรวบรวมประวัติมาได้แค่นี้ ลืมบอกความสำคัญของพระพุทธรูปภายในโบสถ์ ในอุโบสถมีพระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ และใหญ่ที่สุดในโลก เรียกว่าพระในพุง หรือพระสามกษัตริย์ ซึ่งอยู่ใน พุงหรืออุทร ของพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ ๓ องค์ อีกชั้นหนึ่ง
อีกแห่งหนึ่งที่นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ของภูเก็ต คือบ้านท่านท้าวเทพกษัตรี ตั้งอยู่ที่บ้านเคียน ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จากถนนเทพกษัตรี กิโลเมตรที่ ๑๙.๓ แยกทางเข้าบ้านเหรียงไป ๒ กิโลเมตร มีการสืบค้นจนได้หลักฐานว่าที่นี่ คือบ้านเดิมของท้าวเทพกษัตรี ได้จัดทำแผ่นป้ายบอกไว้ บริเวณใกล้เคียงมีวัดม่วงโกมารกัจจ์ ซึ่งท่านท้าวฯ ใช้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมไพล่พลเพื่อเข้าสู้รบกับพม่า มีแนวคูเมืองถลางและที่ตั้งด่านพม่า




หลักฐานที่ปรากฏในวัดพระนางสร้าง

วัดพระนางสร้างเป็นวัดที่มีอายุยาวนานและมีประวัติศาสตร์ จึงมีสิ่งที่สำคัญประเภทโบราณวัตถุ โบราณสถาน เป็นจำนวนมาก บ้างสิ่งก็ได้ถูกรื้อออกเพื่อสร้างประโยชน์อย่างอื่น สถานที่หลายแห่งที่คนโบราณผูกปมปัญหามีเงื่อนงำ เพื่อบอกที่ฝังหรือที่รักษาทรัพย์สมบัติ ผู้คิดแก้ปัญหาเงื่อนงำได้และรู้สถานที่ตามข้อความปริศนานั้น จะสามารถรับทรัพย์สมบัติ ณ สถานที่เหล่านั้นข้อความเหล่านั้นคือ "ลายแทง"
ลายแทงของวัดพระนางสร้าง มีลายละเอียดคือ " อาถรรพถ์ฤาพบได้ ฤาต้องปี ฤาต้องบัง ฤาบอกฤาเล่ามิได้ ฤานำฤารู้ ฤาอุบฤาได้ ฤาบุญฤาตัวเปิด ฤานำ ฤาได้ ฤาบาปแล
พิกุลสองสารภีดีสมอแดง จำปาจำปีตะแคง มะขามหนี่ง กระท้อนหน้า ราชารอบ พิกุลสอง สารภีดี สมอแดง จำปา จำปี ตะแคง มะขามหนึ่ง กระท้อนหน้า ราชารอบขอบของ ระฆังดังเจดีย์มีศาลารอบ ด้วยเข็มหนึ่งไม้เลือดหลังสุด ลูกมุดลูกม่วง ชมพู่ดูโบสถ์ ฤาเปิดได้ดั่งลายแทงแล ฯ


วัดพระนางสร้างในปัจจุบัน

หน้าวัดพระนางสร้างมีการสร้างซุ้มประตูกาญจนาภิเษก และด้านทิศตะวันตกของซุ้มประตูมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมยืน รอบล้อมด้วยมังกร ด้านล่างจะมีองค์เซียนของจีนจำนวน 8 องค์ (ซึ่งยังสร้างไม่สำเร็จ)

อุโบสถที่มีการปลูกสร้างขึ้นใหม่เป็นสถาปัตยกรรมยุครัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถมีพระประธานปางมารวิชัย ฝาผนังอุโบสถมีจิตกรรมฝาผนังที่แสดงประวัติของบุคคลสำคัญ และประวัติเมืองถลาง มีความงดงามเป็นอย่างยิ่ง


ไม่มีความคิดเห็น: