วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Phuket/ผลไม้ สมุนไพร

มะขามป้อมมะ ( Emblic )
เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยสรรพคุณทางยาที่เราสามารถหาได้ใกล้ๆ ตัว
นอกเหนือจากจะมีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 20 เ่ท่า ในปริมาณที่เท่ากันแล้ว มะขามป้อมยังมีฤทธิ์เป็นยาเย็น
ใช้เป็นยาลดไข้ ยาฟอกเลือด ยาระบาย บำรุงหัวใจ ใช้ขับปัสสาวะ และแก้ริดสีดวง ได้อีกด้วย
ตามตำราแพทย์แผนไทยได้อธิบายถึงการนำส่วนต่างๆ ของมะขามป้อมมาใช้ เป็นยาดังนี้

การรักษา ส่วนที่ใช้ วิธีใช้
ห้ามเลือดในแผลสด เปลือกต้น - นำไปตากให้แห้ง บดเป็นผง โรยบริเวณบาดแผล

แก้ตะขาบกัด ราก - ตำรากต้นมะขามป้อมสดพอแหลกพอกแผล
รากมะขามป้อมจะช่วยดูดพิษออกมา



มะยม( Star Gooseberry )
เป็นผลไม้พื้นบ้านที่ให้รสเปรี้ยวอมฝาด ในผลมีแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ
และวิตามินซีสูง จึงมีฤทธิ์ในการ ช่วยสมานแผล และ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการหลอดลมอักเสบ
ในยอดอ่อนมีฟอสฟอรัส ช่วยในการขับเหงื่อ และกระตุ้นการเจริญอาหาร รากของมะยมมีสารแทนนิน
( Tannin ) อยู่ค่อนข้างสูง ใช้แก้ไข้ แก้อาการหอบหืด และปวดศรีษะ

นอกจากนั้นส่วนต่างๆ ของมะยมยังสามารถใ้ช้รักษาอาการต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

การรักษา ส่วนที่ใช้ วิธีใช้
แก้อาการคัน รากมะยม - ต้มรากมะยมประมาณ 1 กิโลกรัมกับน้ำ 10 ลิตร
ให้เดือด ทิ้งไว้ให้อุ่น นำมาอาบ หรือ ใช้รากมะยมฝน
กับน้ำซาวข้าวทาวันละ 2 - 3 ครั้ง อาการจะดีขึ้น

ยาอดบุหรี่ แก่นมะยม - นำแก่นมะยมมาฝ่านให้ได้ขนาดชิ้นเท่าฝ่ามือ 3 ชิ้น
ต้มกับน้ำ 1 แก้ว นาน 5 นาที ดื่มให้หมดแก้ว
กินติดต่อกัน 1 อาทิตย์ จะช่วยให้เลิกบุหรี่ได้

แก้ปวดศรีษะ ใบ - ต้มใบแก่พร้อมก้าน 1 กำมือ กับน้ำตาลกรวดให้เดือด
นาน 5 - 10 นาที แล้วดื่ม จะช่วยลดอาการปวดศรีษะ
เนื่องจากความดันโลหิตสูงได้


ข้อควรระวัง รากของมะยมมีพิษ ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ใหญ่ โดยใช้ผสมกับอาหาร กินแล้วจะเกิดอาการเมา
และอาเจียน





มังคุด( Mangosteen )
เป็นผลไม้ที่เนื้อในของผลมีรสเปรี้ยวอมหวาน กลมกล่อมและได้รับการยกย่องให้เ็ป็นราชินีของผลไม้ทั้งปวง เนื่องจากมีกลีบรองดอกติดอยู่ที่ขั้วคล้ายมงกุฏราชินี ทั้งในเปลือก
เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ ลำต้นสูง 7-25 เมตร ผลแก่เต็มที่มีสีม่วงแดง ในเอเชีย มังคุดได้รับขนานนามว่าเป็น "ราชินีของผลไม้"
ผลมีเปลือกนอกค่อนข้างแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก
ผลมังคุดมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเหมือนสตรอว์เบอรี่ที่ยังไม่สุกหรือส้มที่มีรสหวาน เมล็ดไม่สามารถใช้รับประทานได้
มังคุดเป็นผลไม้จากเอเชียที่ได้รับความนิยมมาก ปัจจุบันมีการเพาะปลูกและขายบนเกาะบางเกาะในหมู่เกาะฮาวาย ต้นมังคุดต้องปลูกในสภาพอากาศอบอุ่น หากอุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 4 °C จะทำให้ต้นมังคุดตายได้


ในแง่สมุนไพร เปลือกมังคุดจึงมีสรรพคุณในการใ้ช้รักษาโรคผิวหนัง และนิยมนำไป สกัดทำเป็นสบู่ ครีมพอกหน้า และยารักษาสิวฝ้าได้อีกด้วย อีกทั้งส่วนต่างๆ ของมังคุดยังสามารถใช้เป็นยารักษาโรคไ้ด้
เปลือกมังคุดแห้ง แก้แผลพุพอง เป็นหนอง กลากเกลื้อน ใช้เปลือกมังคุดแห้งของผลแก่ฝนกับน้ำปูนใส
ให้ได้ตัวยาข้นๆ ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 2 -3 ครั้งอาการจะดีขึ้น หรือ ใช้เปลือกมังคุดแห้ง 1 - 2 ผล
ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ล้างแผลวันละ 3 - 4 ครั้ง ก็ได้เช่นเดียวกัน
เปลือกมังคุด รักษาแผลในปาก นำไปต้ม ใช้เป็นยากลั่วคอ มีฤทธิ์ในการฆ่าเืชื้อแบคทีเีรีย และต้านเชื้อราในปาก
เปลือกมังคุดแห้ง รักษาแผลน้ำกัดเท้า นำเปลือกมังคุดที่ตากแดดจนแห้งไปฝนกับน้ำให้ได้ความเข้มข้น ทาบริเวณที่เป็นวั
นละ3-4 ครั้ง จะช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น
เปลือกแห้ง แก้ท้องเสีย ใช้เปลือกมังคุดแห้ง 1 ผล ต้มกับน้ำให้เดือด ผลแก่5 - 10 นาที รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ





มะเฟือง
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Averrhoa carambola L.; ชื่อสามัญ: Carambola) เป็นไม้ต้นพื้นเมืองของอินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา และเป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย มาเลเซีย และบางส่วนของเอเชียตะวันออก รวมทั้งมีเพาะปลูกในสาธารณรัฐโดมินิกัน บราซิล เปรู กานา Guyana ซามัว ตองกา ไต้หวัน French Polynesia คอสตาริกา และ ออสเตรเลีย ในสหรัฐอเมริกามีแหล่งเพาะปลูกเชิงพาณิชย์อยู่ที่ฟลอริดาตอนใต้และฮาวาย
มะเฟื่องสุก ยังอุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และแคลเซี่ยม ช่วยรักษาอาการเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบายแ้ก้ท้องผูก ช่วยขับเสมหะได้ในด้านสมุนไพร เราสามารถใช้ส่วนต่างๆ ของมะเฟืองมารักษาโรคได้ดังต่อไปนี้
ผล คั้นเอาแต่น้ำดื่ม จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ไข้หวัด บรรเทาอาการนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะรอยเปื้อนบนมือ เสื้อผ้า และของใช้ต่างๆ ไ้ด้ดีอีกด้วย
ใบ นำมาต้มผสมกับน้ำ กินแก้ไข้ ขับปัสสาวะ ขับระดู หรือหากนำมาบดให้ละเีอียดพอกบนผิวหนัง จะช่วยลดอาการอักเสบ ช้ำบวบ แก้ผื่นคัน กลากเกลื้อน และอีสุกอีใส
ราก มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ต้มกับน้ำ่ช่วยดับพิษร้อน แำก้อาการปวดศรีษะ ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย ปวดแสบในกระเพาะอาหาร แก้อาการท้องร่วง
ดอก นิยมนำมาต้มน้ำดื่มเพื่อช่วยในการขับพิษและขับพยาธิ

ข้อควรระวัง
ผลมะเฟื่องมีกรดออกชาติกอยู่ค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไปเพราะจะทำให้เป็นฝ้าได้ อีกทั้งไม่ควรกินในขณะมีประจำเดือน เพราะ จะทำให้รู้สึกปวดท้อง สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้แท้ได้




ส้มโอ( Pomelo )
ในส้มโอมีสารเพกทิน ( Pectin ) สูง จึงมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดอีกทั้งยังมีสารโมโนเทอร์ปีนที่ช่วยในการกวดจับสารก่อมะเร็ง นอกจากนั้น ส้มโอยังมีคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย

ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วย่างไฟให้อุ่น ใช้พอกบริเวณที่ปวดบวม หรือปวดศรีษะได้
เปลือกผลของส้มโอ มีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด ใช้เป็นยาขับลม ขับเสมหะ แก้ท้องอืด แน่นหน้าอก ไอ สามารถใช้เปลือกผลตำพอกฝี และใช้จุดไฟไล่ยุงได้หรือ หากนำเปลือกผลส้มโอมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำไปนึ่งรับประทานทุกเช้าเย็น ก็จะช่วยบรรเทา
อาการของโรคหืดได้
เมล็ด ของส้มโอมีสรรพคุณ ช่วยบำรุงกระเพาะอาหารลดอาการปวดบวมของผิวหนัง และยังช่วยลดปริมาณของเสมหะที่มีในลำคอไ้ด้อีกด้วย
ผล ช่วยเจริญอาหาร หากรับประทานเนื้อส้มโอหลังอาหาร จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น




มะขาม (Tamarind )
มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล



นับได้ว่าเป็นผลไม้พื้นบ้านที่คนไทยรู้จักมาช้านาน อีกทั้งเราสามารถนำส่วนต่างๆ
ของมะขามมาใช้ประโยชน์ในการรักษาได้แทบทั้งสิ้น เช่น ในเนื้อมะขามมี สารแอนทราควิโนน
(Anthraquinone ) ซึ่งจะช่วยให้ประำจำเดือนมาเป็นปกติ นอกจากนั้น ยังมีกรดอินทรีย์
( Oragnic acid ) อยู่หลายชนิด เช่น กรดทาร์ทาริก ( Tartaric acid ) และกรดซิตริก ( Citric acid )
ทำให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เพิ่มกากใยอาหารและช่วยหล่อลื่นให้ขับถ่ายสะดวก

แก้สารพัดโรคจากมะขาม

การรักษา ส่วนที่ใช้ วิธีใช้
ทาแก้แผลไฟไหม้ - เปลือกของเมล็ด - นำเมล็ดมะขามสุกไปคั่วให้สุก กะเทาะเอาแต่เปลือก
น้ำร้อนลวก ไปบดให้ละเอียด แล้วคลุกกับน้ำมันละหุง หรือ
น้ำมันมะพร้าว พอกแผลวันละ 2 - 3 ครั้ง

รักษาฝีและแผลเรื้อรัง - เมล็ดมะขาม - คั่วเมล็ดมะขามให้สุก กะเทาะเปลือกทิ้ง
นำไปแช่น้ำจนนิ่ม ตำพอกแผล

แก้แมลงสัตว์กัดต่อย - เมล็ดมะขาม - ผ่าเมล็ดตามแนวขวาง นำส่วนที่ถูกผ่าไปฝนกับน้ำ
มะนาว ใช้ปิดรอยแมลงกัด เมล็ดมะขามจะช่วยดูดพิษ
ออกมาได้

แก้ไอ ขับเสมหะ -เนื้อมะขาม -นึ่งเนื้อมะขามให้สุกๆ คั้นกับน้ำให้้ข้นๆ เติมเกลือลงไป
เล็กน้อย ใช้จิบบ่อยๆ





ทับทิม (punica) ชื่อท้องถิ่น เซี๊ยะลิ้ว, พิลา, พิลาขาว, มะก่องแก้ว, มะเก๊าะ, หมากจัง เป็นไม้ผลขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 5-8 เมตร
ทับทิมมีถิ่นกำเนิดจากตะวันออกของประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ทับทิมจึงชอบอากาศหนาวเย็นและอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะอย่างน้อย 300 เมตร ยิ่งอากาศหนาวเนื้อทับทิมจะมีสีแดงเข้มมากขึ้น


ในภัมภีร์อายุรเวทของอินเดีย ยกย่องให้ทับทิมเป็นคลังยา เพราะ ส่วนต่างๆ ของทับทิมสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ผล ซึงมีรสหวานอมเปรี้ยวออกฤทธิ์เป็นยาบำรุงกำลัง แก้เจ็บคอ แก้โลหิตจาง ห้ามเลือด รักษาแผล แก้อาการปวดกระเพาะอาหารขับพยาธิในลำไส้ แก้ท้องร่วง เป็นต้นนอกจากนั้น ในเปลือกผลแก่ ของทับทิมยังมีกรด Gallotannic ซึ่งมีฤทธิ์ในการ ยับยั้่งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค แก้อาการท้องเดินได้ ซึงกองวิจัยทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์
การแพทย์ได้วิเคราะห์ไว้แล้วว่าไม่มีพิษเฉียบพลัน ทั้งยังสามารถใช้รักษาโรคบิดที่เกิดจากแบคทีเรียและอะมีบา ได้ผลดีอีกด้วย

การรักษา ส่วนที่ใช้ วิธีใช้
แก้ท้องอืด น้ำทับทิม - นำทับทิม 1 ลูก ไปคั้นน้ำ ดื่มตอนเช้าครั้งละ 1 แก้ว
จะลดอาการคลื่นไส้ ( สูตรนี้เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์)
ในกรณีของคนที่ดื่มแก้ท้องอืดและบำรุงสายตา
ให้ผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ดื่มหลังอาหาร จะช่วยให้
ลำไส้ดูดซึมได้ดีขึ้น

แก้น้ำกัดเท้า เปลือกทับทิม - นำเปลือกทับทิมตากแห้งไปฝนกับน้ำปูนใสให้ขึ้น
ทาทุกครั้งที่มีอาการ

แก้ท้องเสียและบิด เปลือกผล - ใช้เปลือกผลแก่ที่แห้งขนาด 1/4 ของผลทับทิม
ต้มกับน้ำปูนใส ดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะทุกๆ 4 ชั่วโมง
อาการจะดีขึ้น

แก้อาการเจ็บคอ เปลือกผล - ต้มเปลือกผลแก่สดครึ่งลูกกับน้ำ 1 แก้ว อมกลั้วคอ
ปวดฟัน ทุกเช้าและก่อนนอน



ผลไม้หรืออาหารทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษ ควรเลือกรับประททานให้เหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น: