วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

phuket/ เขานาคเกิด

เขานาคเกิด
นี้ เป็นยอดเขาที่สูงมาก และน่าจะสูงที่สุดในภูเก็ต ตั้งอยู่ในเขตติดต่อกัน ระหว่างตำบลกะรน และตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต แต่ทางขึ้น หากไปทางตำบลฉลอง จะสะดวกและง่ายดายกว่า โดยไปตามเส้นทางในซอยยอด เสน่ห์ (หมู่ 10 ) ระยะทางจากปากซอย ถึงยอดเขาก็ประมาณ 6 กม. เส้นทางในช่วงแรกนั้น ลาดยางอย่างดี ถนนจะแคบไปบ้าง เพราะเป็นถนนในหมู่บ้าน ระหว่างทางบรรยากาศรอบๆ ร่มเย็น


พระพุทธรูปปางมารวิชัย
เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดของภูเก็ต ทางคณะกรรมการจัดสร้าง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐบาล ภาคเอกชน ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธา ได้สร้างเพื่อให้เป็น พระพุทธรูปประจำเมืองภูเก็ต นามว่า " พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี" หน้าตักกว้าง 25.45 เมตร สูง 45 เมตร)เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี



เขานาคเกิดเป็นที่รู้จักด้านเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา แต่เดิมในสมัยสุวรรณภูมิอันรุ่งเรือง แห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ปัจจุบัน ชาวภูเก็ตได้ส่งตัวแทน ไปอัญเชิญเสด็จพุทธองค์ มาโปรดชาวเมือง เมื่อพระองค์เสด็จมา พร้อมพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ ที่แรกที่เสด็จก็คือ บริเวณเกาะแก้วพิสดาร ได้ทรงแนะนำข้อธรรม แก่ชาวบ้าน ชาวบ้านจึงขอให้พระองค์ ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ เป็นเครื่องสักการบูชาที่ริมน้ำ และที่สันเกาะบนก้อนหินใหญ่อีก 1 คู่ ขนาดเท่าครึ่งของคนปกติ แล้วเรียกขานต่อๆ มาว่า “ รอยพระพุทธบาทเกาะแก้วพิสดาร ” เมื่อขึ้นมาโปรดสัตว์ ที่ริมหาดแผ่นดินใหญ่ ชาวบ้านจึงกราบทูล ขอรอยพระหัตถ์ไว้อีก 1 รอย แถวนั้นจึงเรียกกันว่า “ เราไหว้ ” เนื่องจากเป็นสถานที่ที่กราบไหว้พระพุทธเจ้า และรอยพระหัตถ์ ต่อมาเมื่อกาลเวลาผ่านไป คนลืมรอยพระหัตถ์ไปแล้ว ประกอบกับสำเนียงพื้นเดิมเปลี่ยนไป คำว่า “ เราไหว้ ” จึงสั้นลง คือ สระ “ -เ ” หายไปเหลือแต่ “ รา ” และ พยัญชนะ “ ห ” หายไปเหลือแต่ “ ไว ” กลายเป็น “ ราไวย์ ” หรือหาดราไวย์ ในปัจจุบัน

ต่อมาพุทธองค์
ได้เสด็จตามคำเชิญของเทวดาและนาค จากริมหาดราไวย์ มาโปรดบนยอดเขา โดยประทับที่โขดหินใหญ่บนยอดเขานั้น พระพุทธองค์ ได้ตรัสสั่งสอนพระธรรม แก่เหล่าเทวดาและนาค จนเข้าใจในพระธรรม ไปเกิดจุติในสรวงสวรรค์ ที่บารมีธรรมสูงขึ้น มีรัศมีกายสว่างไสว ดังดอกไม้ไฟที่พุ่งสู่ท้องฟ้า ชาวบ้านซึ่งอยู่ใกล้บริเวณนั้น ได้เห็นปรากฏการณ์แห่งจิตวิญญาณนั้น จึงขนานนามยอดเขานั้นว่า “ นาคเกิด ” ส่วนเหล่านาคที่ยังไม่เข้าสู่ เทวธรรมชั้นสูง ก็ได้ทูลขอรอยพระบาท แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อสักการบูชาแก่ต่อไป ได้แก่ รอยประทับนั่งของพระพุทธองค์ รอยพระหัตถ์ และรอยพระพุทธบาท



กรมป่าไม้เค้าจัดให้เป็นหนึ่งในป่าสงวนแห่งชาติของภูเก็ต จากที่มีทั้งหมด 16 ป่า แยกเป็นป่าบก 9 แห่ง และป่าชายเลน 7 แห่ง ลักษณะทั่วไปป่าสงวนแห่งชาติเขานากเกิด ตามคำจำกัดความ ของกรมป่าไม้ คือ ป่าเขตร้อนชื้น ค่อนข้างรก ด้านล่างมีไม้เล็กๆ รกทึบ ซึ่งส่วนใหญ่ป่าแบบนี้ จะอยู่แถบภูเขา หุบเขา

ไม่มีความคิดเห็น: