วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Phuket / มะละกอ

มะละกอ
แม้จะไม่ใช่พืชพื้นเมืองดั้งเดมของไทยก็ตามแต่ก็เข้านำมาปลุกกันนานแล้ว จนกลายเป็นพรรณพืชพื้นเมืองไป ในขณะเดียวกันก็มีผู้นำพันธุ์ใหม่ๆในที่ต่างๆเข้ามาปลูกอยู่เรื่อยๆ และโดยที่ธรรมชาติของมะละกอนั้นเป็นพืชที่ผสมข่ามต้นข้ามดอกได้ง่าย และการขยายพันธุ์ก็นิยมวิธีเพาะเมล็ดเพียงอย่างเดียว เมล็ดที่ใช้เพาะก็ได้มาจากการผสมโดยธรรมชาติ จึงทำให้มะละกอกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ และเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะยากมากที่จะรักษาพันธุ์มะละกอให้เป็นพันธุ์แท้ตลอดไป นอกจากจะปลูกมะละกอพันธุ์เดียวกันมากๆในพื้นที่กว้างขวางหรือปลูกให้ไกลจากพันธุ์อื่นๆหรือการพยามที่จะดำรงรักษาพันธุ์เพื่อให้มะละกอคงสภาพพันธุ์เดิมของผู้ปลูกเองปัจจุบันจะเห็นได้ว่าบ้านเรามีพันธุ์มะละกอพันธุ์ต่างๆมากมายและแต่ละพันะไม่ค่อยมีความสม่ำเสมอในสายพันธุ์มากนัก จนแยกไม่ค่อยออกว่าเป็นพันธุ์อะไรแน่ ชื่อเรียกพันธุ์ต่างๆก็มากมายเช่นกัน ทั้งที่เป็นที่รู้จักกันดีทั้งประเทศและชื่อที่รู้จักกันเฉพาะในท้องถิ่นรวมทั้งมีการตั้งชื่อพันธุ์ใหม่ๆที่เห็นว่ามีลักษณะแตกต่างไปจากพันธุ์อื่นขึ้นมาอีกเรื่อยๆเช่นกัน พันธุ์มะละกอที่จะกล่าวถึงนี้จะกล่าวถึงพันธุ์ที่ปลูกกันมาก หรือรู้จักกันทั่วไป



พันธุ์พื้นเมือง
หมายถึงพันธุ์ที่ปลุกกันมานานสืบทอดเชื้อสายกันมาเรื่อยๆเป็นพันธุ์ที่ปลูกกันทั่วๆไปแต่ปลูกแบบเล็กๆน้อยๆไม่ได้ปลุกเป็นการค้าหรือคัดเลือกพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น คงปล่อยเป็นไปตามธรรมชาติทุกอย่าง ดังนั้นพันธุ์พื้นเมืองจึงมีลักษณะไม่ค่อยแน่นอนทั้งลักษณะของผลและลำต้น แต่โดยทั่วไปแล้วพันธุ์พื้นเมืองผลค่อนข้างเล็ก ผลทรงกลม เนื้อบางช่องว่างในผลกว้าง เมื่อสุกเนื้อจะออกสีเหลือง และเนื้อค่อนข้างเละ จึงไม่ค่อยนิยมบริโภคสุกกันมักใช้ประโยชน์จากผลดิบมากกว่า พันธุ์พื้นเมืองมักออกดอกติดผลช้า แต่ก็มีข้อดีที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี เพราะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นมานาน พันธุ์พื้นเมืองนี้ถึงแม้จะปลูกกันมานานแล้วแต่ก็ไม่นิยมปลูกกันอย่างกว้างขวางจริงจังนัก คลปลุกกันบ้านละต้น2ต้นเท่านั้น หรือปล่อยให้ขึ้นกันเองตามธรรมชาติ และกำลังจะถูกพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพดีกว่าเข้าไปแทนที่เรื่อยๆ ปัจจุบันยังพอหาได้ในท้องถิ่นห่างไกลส่วนในแหล่งปลูกเป็นการค้า จะหาพันธุ์พื้นเมืองไม่ได้แล้ว

พันธุ์ต่างประเทศมะละกอพันธุ์ต่างประเทศที่นำเข้ามาปลูกในเมืองไทยมานานแล้วและยังคงพบเห็นอยู่ในปัจจุบันมีอยู่หลายพันธุ์เช่น

พันธุ์โกโก้
ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้คือ ก้านใบจะเป็นสีม่วงเข้มหรือสีดำ ผลใหญ่เมื่อสุกเนื้อออกสีแดง เนื้อแข็งหนารสหวาน เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในสมัยก่อน

พันธุ์ฮาวาย
ลักษณะผลโต เนื้อหนา เมื่อสุกเนื้อเป็นเนื้อสีเหลือง เป็นที่นิยมกันมากในสมัยก่อนเช่นเดียวกัน
ทั้งพันธุ์ฮาวายพันธุ์โกโก้รวมทั้งพันธุ์อื่นที่นำเข้ามาปลูกในระยะหลังๆนั้นได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดพพันธุ์มะละกอใหม่ๆขึ้นมาอย่างมากมายโดยการผสมพันธุ์ดังกล่าวแล้ว

พันธุ์โซโล
และสายพันธุ์ของโซโลพันธุ์โซโลได้มีผู้นำมาจากฮาวายมาปลูกกันในประเทศไทยมานานแล้วแต่ไม่เปผ็นที่นิยมของผู้บริโภคจึงไม่นิยมปลูกกัน แต่พันธุ์โซโลนั้นในต่างประเทศเป็นที่นิยมกันมาก เป็นสินค้าออกที่สำคัญของฮาวายเพราะชาวต่างประเทศนิยมบริโภคมะละกอที่มีผลขนาดเล็กสามารถรับประทานหมดภายในครั้งเดียว ปัจจุบันได้มีผู้นำสายพันธุ์ของโซโลเข้ามาทดลองปลูกกันอีกหลายพันธุ์เช่น Line 10 Solo , Sunrise , Solo , Higgin , Pu-na เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อหาทาง พัฒนาให้เป็นสินค้าส่งออกไปขายยังต่างประเทศสำหรับพันธุ์โซโลนั้นผลมีขชนาดเล็กคือหนักประมาณ 1 ปอนด์ หรือขนาดผลมะตูมทรงผลกลม เนื้อสีเหลือง เนื้อหนา ช่องว่างในผลแคบ รสหวานจัด สามารถขนส่งไปยังตลาดไกลๆได้ดี|

สำหรับพันธุ์มะละกอที่นิยมปลูกกัน มากในปัจจุบันได้แก่

พันธุ์โกโก้
เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากพันธุ์หนึ่งพันธุ์โกโก้ที่ปลุกกันในปัจจุบันมีทั้งก้านใบสีน้ำตาลเข้มหรือสีม่วงเข้มหรือสีเขียวอ่อน พวกที่ก้านสีเขียวอ่อน หรือสีเขียวจะสังเกตเห็นจุดประสีม่วงตามบริเวณลำต้นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในขณะต้นอายุไม่มาก พันธุ์ โกโก้ เป็นพันธุ์ที่นิยมบริโภคผลสุก ขนาดของผลขนาดเล็ก ปานกลางผลค่อนข้างยาวผิวเกลี้ยงเป็นมัน ปลายผลใหญ่ หัวผลเรียว เนื้อแน่นหนาเนื้อสีแดง หรือสีชมพูเข้มรสหวานอร่อยเป็นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลเร็ว ต้นเตี้ย อวบแข็งแรง



พันธุ์แขกดำ
เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากที่สุดอีกพันธุ์หนึ่ง ผลสุกรสหวานอร่อย ผลดิบก็ใช้ทำส้มตำได้ดี เนื้อหนาแน่น เมล็ดน้อย ผลสุกเนื้อสีแดงเข้ม ช่องว่างในผลแคบหรือแทบจะไม่มีเลยขนาดผลค่อนข้างเล็ก กำลังพอเหมาะสำหรับบริโภคในครอบครัว รูปทรงของผลยาวรีส่วนปลายผลและส่วนขั้วผลมีผลขนาดเท่าๆกันสัผิวผลออกสีเขียวแก่หรือสีเขียวเข้มเป็นพันธุ์ที่ลำต้นอวบแข็งแรง ต้นเตี้ยให้ดอกติดผลเร็ว ก้านใบสีเขียวอ่อน

พันธุ์สายน้ำผึ้ง
ลักษณะต้นเตี้ยในระยะออกอกก้านใบออกสีเขียวอ่อนหรือเขียวปนขาว ก้านใบยาวกว่าพันธุ์แขกดำ ผลค่อนข้างโต ทรงผลป้าน คือด้านขั้วผลเล็กและขยายออกด้านท้ายผล เปลือกผลสีเขียว มองเห็นร่องพูที่ผลเป็นเหลี่ยมได้ชัดเจน เมื่อสุกเนื้อออกสีแดงปนส้ม เนื้อหนาเนื้อแน่น ช่องว่างในผลปานยกลาง มีเมล็ดมากรสหวานจัดเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเช่นกัน

พันธุ์จำปาดะ
เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นอวบแข็งแรง ออกดอกติดผลช้ากว่าพันธุ์โกโก้และพันธุ์แขกดำ ใบและก้านใบออกสีเขียวอ่อน ผลมีขนาดยาว ผลดิบมีสีเขียวอ่อนผลสุกเป็นสีเหลือง เนื้อค่อนข้างบางกว่าพันธุ์อื่น และเนื้อไม่ค่อยแน่น


ลักษณะทั่วไป
มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้

ประโยชน์
นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้ มะละกอสุกนับว่าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน วิตามินเอมาก ช่วยบำรุงสายตา และยังประกอไปด้วยน้ำตาล วิตามิน บีหนึ่งและบีสอง วิตามิน ซี
เกลือแร่ต่างๆ อีกไม่น้อย เป็นต้นว่า แคลเซียม ฟอสฟอรัส รวมทั้งมีกากหรือเส้นใยอาหารมาก

ไม่มีความคิดเห็น: