วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

phuket/พิธีแห่พระประเพณีกินเจ


วันที่ 6 ตุลาคม 2551 ระหว่างเวลา 07.00 - 11.00 เป็นอีกวันหนึ่งของประเพณีถือศีลกินผัก( กินเจ ) ของจังหวัดภูเก็ต วันนี้ที่แปดของการกินเจของจังหวัดภูเก็ต จะนำท่านมาชมพิธีแห่พระของ" อ๊ามหล่ายถู่ต่าวโบ้เก้ง " (ศาลเจ้ากะทู้ ) เป็นพิธีแห่พระรอบเมืองภูเก็ต
จากศาลเจ้ากะทู้ ก็จะผ่านที่ศาลเจ้าชิดเชี้ยว เป็นเจ้าเล็กแต่ก็มีส่วนที่ศาลเจ้าเป็นทางผ่านของขบวนแห่พระ ที่นี้ผู้มีจิตศรัทธา
นำน้ำ ขนม และผ้าเย็นไว้บริการแก่ผู้ที่เข้าร่วมพิธีในครั้ง



ในพิธีแห่พระชานบ้านจะตั้งโต๊นำของมาถวายแก่องค์พระที่จะเดินผ่านและเป็นสิริมงคล ต่อตนและครองครัว

ของที่นำมาถวายก็จะเป็นของเจทั้งสิ้น
ผลไม้ที่ใช้ไหว้ จะนิยมเลือกชนิดที่มีอะไรที่เป็นมงคลอยู่ในตัว
ส้ม เรียกว่า “ไต้กิก” แปลว่า โชคดี
องุ่น เรียกว่า “พู่ท้อ” แปลว่า งอกงาม
สับปะรด เรียกว่า “อั้งไล้” แปลว่า มีโชคมาหา
กล้วย มีความหมายถึงการมีลูกหลานสืบสกุล
นอกจากนี้ยังมี เอ็ปเปิ้ล


ระหว่างทางสองข้างท่างนอกจากของไหว้แล้วที่ชาวบ้านขาดไม่คือ "ประทัด " เมื่อองค์พระเดินผ่านชาวบ้านจะนำประทัดนับร้อยลูกมาจุดเพื่อแสดงความเคารพ เสียงดังกึกก้องไปทั้งถนน เศษกระดาษของประทัดสีแดงเต็มพื้นไปหมด
เรียกว่า พิธีออกเที่ยวหรืออิ้วเก้ง
เป็นการออกประพาสเพื่อโปรดสัตว์หรือทำนองออกเยี่ยมราชฏรของพระมหากษัตริย์โดยมีขบวนธง และป้ายชื่อแห่นำหน้า จากนั้นจะเป็นเกี้ยวหามพระเรียกว่า ถ้ายเปี้ย หรือเสรี่ยงเล็กโดยหามรูปพระบูชาต่างๆ ในขบวนแห่ผ่านไป ชาวบ้านจะตั้งโต๊ะบูชาและจุดประทัดเพื่อต้อนรับขบวน


องค์พระแต่ละองค์จะแสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ของแต่ละองค์จะไช้อาวุธแตกต่างกันไป



บางองค์อาวุธชิ้นใหญ่ก็ 1-2 ชิ้น บางองค์อาวุธเล็กก็หลายชิ้น "แต่ละองค์ล้วนแล้วแต่ห้นาหวาดเสียวทั้งนั้น"

พิธีกรรมในช่วงงานประเพณีถือศีลกินผัก
พิธีบูชาพระ ในวันแรกของพิธีจะมีการบูชาพระด้วยเครื่องเซ่นต่างๆ ทั้งอ๊าม ( ศาลเจ้า ) และตามบ้านของผู้กินผัก เมื่อกินผักได้ครบสามวัน ถือว่าผู้นั้นสะอาด บริสุทธิ์ หรือเรียกว่า " เช้ง "

พิธีโขกุ้น เป็นพิธีการเลี้ยงทหารซึ่งจะทำพิธีในวันที่ 3 วันที่ 6 และวันที่ 9 ของงานประเพณีหลังเที่ยงหรือเวลาประมาณ 15.00 น
พอเริ่มพิธีจะต้องมีการเตรียมอาหารและเหล้าสำหรับเซ่นสังเวยเลี้งทหารและมีหญ้าหรือถั่ว เพื่อเป็นอาหารของม้า

พิธีเหลี่ยมเก้ง เป็นการสวดมนต์ตั้งแต่เมื่อพระกิ๊วอ๋องไต่เต้ เข้าในอ๊าม หรือศาลเจ้า ทำพิธีสวดวันละ 2 ครั้ง ป็นลักษณะการสวดมนต์เช้าและเย็น ตอนกลางคืนเมื่อสวดเสร็จจะมีการอ่านรายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมกินผัก ซึ่งอ่านต่อหน้าแท่นบูชาพระกิ๊วอ๋องฮุดโจ้ว เป็นการกล่าวรายงาน ผู้ถือศีลกินผัก



พิธีบูชาดาว (ป้ายชิดแช้ ) จะทำในคืนวัน 5 ค่ำ เพื่อขอให้ช่วยคุมครอง ในพิธีนี้จะมีการนำฮู้ (กระดาษยันต์ ) แจก

การลุยไฟ (โก๊ยโห๊ย หรือ โก๊ยโห่ย )
กองไฟถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ ที่บังคับไฟไม่ให้ร้อนหรืออาจถือเป็นไฟทิพย์ ใช้ชำระความสกปรกของร่างกายให้บริสุทธิ์ โดยลุยทั้งคนทรงเจ้าที่กำลังประทับทรงหรือประชาชนโดยทั่งไป

พิธีโก๊ยห่าน
ทำหลังจากลุยไฟ ให้ผู้ที่ต้องการสะเดาะเคราะห์ตัดกระดาษเป็นรูปตัวเอง พร้อมเหรียญ 25 สตางค์และต้นกุ๊ยฉ่าย 1 ต้น นำมาที่ศาลเจ้าแล้วให้ม้าทรง (ผู้ประทับทรง ) ประทับตราด้านหลังของเสื้อที่ใส่ เรียกว่าต๊ะอิ่น

พิธีส่งพระ (ส่างกิ้วอ๋อง ) ทำในวันสุดท้ายของการถือศีลกินผัก ตอนกลางคืนจะมีการส่งหยกอ๋องส่งเต่ ซึ่งมักจะส่งกันที่หน้าเสาโกเต้ง ก่อนเที่ยงคืนทำการส่งกิ๊วอ๋องฮุดโจ้วกลับสวรรค์ ณ บริเวณชายทะเลหาดสะพานหิน

เมื่อขบวนแห่พระออกพ้นประตู ไฟทุกดวงในอ๊ามจะดับสนิทและปิดประตูใหญ่
ในสามวันนี้ทุกอ๊ามต้องทำพิธีบวงสรวงทหารของเจ้า ซึ่งเป็นบริวารของเจ้าแต่ละองค์
ทหารของเจ้าแต่ละองค์ จะมีทหารบริวารมากมาย จะแบ่งเป็นกอง ตามทิศต่างๆ 5 ทิศ
ทิศใต้ ใช้ธงสีแดง มีทหาร 88,000 คน
ทิศเหนือ ใช้ธงสีดำ มีทหาร 55,000 คน
ทิศตะวันออก ใช้ธงสีเขียว มีทหาร 99,000 คน
ทิศตะวันตก ใช้ธงสีขาว มีทหาร 66,000 คน
ทิศกลาง (กองกลาง ) หรือทับหลวง ใช้ธงสีเหลือง มีทหาร 33,000 คน
เป็นอันเสร็จประเพณีถือศีลกินผัก ของปีนี้

ไม่มีความคิดเห็น: